ยุโรปสมัยกลาง

ยุโรปสมัยกลาง

ยุโรปสมัยกลาง

 

ยุโรปสมัยกลางสมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (อังกฤษ: Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages)

 

ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้

 

ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ – องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย – โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1095 คือผลิตผลจากความพยายามทางการทหารของเหล่าชาวคริสต์ในยุโรปตะวันตกที่ต้องการจะทวงคืนแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ในตะวันออกกลางคืนจากชาวมุสลิมและมีอำนาจเหนือดินแดนดังกล่าวนานพอที่จะสถาปนารัฐคริสต์ในตะวันออกใกล้ กลุ่มปัญญาชนเกิดขึ้นจากลัทธิอัสสมาจารย์นิยมและการก่อตั้งมหาวิทยาลัยทั่วยุโรป รวมไปถึงการก่อสร้างโบสถ์วิหารแบบกอทิก เป็นหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จทางด้านศิลปะอันยอดเยี่ยมจากยุคกลางตอนกลาง

 

ยุคกลางตอนปลายต้องเผชิญกับความยุ่งยากและหายนะมากมาย เช่น ความอดอยาก, โรคระบาด และสงคราม ซึ่งทำให้จำนวนประชากรในยุโรปตะวันตกลดลงเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลาสี่ปีตั้งแต่ ค.ศ. 1347 ถึง ค.ศ. 1350 กาฬโรคระบาดในยุโรปคร่าชีวิตชาวยุโรปไปสามในสี่โดยประมาณ ความกังขา, ความนอกรีต และความแตกแยกภายในคริสตจักรดำเนินควบคู่ไปกับสงครามระหว่างรัฐ สงครามกลางเมือง และการลุกฮือของชาวนาภายในอาณาจักรต่าง ๆ พัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมและเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงสังคมของยุโรปอันเป็นจุดจบของยุคกลางและจุดเริ่มต้นของสมัยใหม่ตอนต้น

 

สมัยกลางหรือยุคมืด

การกระทำทุกอย่างถูกครอบงำโดยศาสนา ห้ามกระทำนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

โรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตกทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่

ก่อนหน้านี้ โรมในสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน มีอาณาเขตกว้างขวางมาก จนมีการแบ่งการปกครองเป็นสองส่วน คือโรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตก แต่แทนที่จะมีการปกครองที่ดีขึ้น ทั้งสองฝั่งกับทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่

 

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 บุกเข้าโรม

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นจักรพรรดิทางด้านตะวันออก ที่ทำสงครามชนะ สามารถบุกเข้าโรม รวมอาณาจักรโรมันไว้เป็นหนึ่งเดียว แต่ครั้งนี้เมืองหลวงไม่ได้อยู่ที่โรมเสียแล้ว เนื่องจากว่าคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิด้านตะวันออกก็อยากจะอยู่ที่ด้านตะวันออก คือกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งตั้งตามชื่อของเขาเอง หรืออาจเรียกว่า ไบแซนทิอุม หรือ ไบแซนไทน์ (Byzantium)ปัจจุบันคือ เมืองอิสตันบุล ในประเทศตุรกี

นั่นหมายความว่าจักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ

  1. โรมันตะวันตก มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงโรม-ประเทศอิตาลี
  2. โรมันตะวันออก หรือถูกเรียกอีกชื่อว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์ มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงคอนสแตนติโนเปิล

 

พระเจ้าคอนสแตนตินได้เห็นนิมิตจากสวรรค์

ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต พระเจ้าคอนสแตนตินก็หันไปพึ่งศาสนาในขณะที่นอนป่วยอยู่บนเตียง มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระเจ้าคอนแสตนตินจะข้ามแม่น้ำไปยังกรุงโรมในสมัยสงครามกลางเมือง เขาได้เห็นนิมิตจากสวรรค์(ซึ่งก็พึ่งจะแปลความหมายออกตอนนอนป่วย) ทำให้พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ส่งผลให้ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาของจักรวรรดิ ซึ่งกฎหมายของพวกโรมันบังคับให้ประชาชนต้องหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกระทั่งแพร่หลายในยุโรปในที่สุด

 

หลังจากนั้นมาโรมันตะวันตกเริ่มอ่อนแอมากข้นเรื่อยๆ เนื่องจากถูกคุกคามจากชนเผผ่าต่างๆ และในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกวิสิกอธ หรือชนเผ่าเยอรันค.ศ.476 เผ่าเยอรมันได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของโรมันตะวันตก(โรม) ถือเป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิโรมัน ดินแดนยุโรปจึงแยกแยกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ชนเผ่าที่สำคัญในยุคนั้นได้แก่ แฟรงค์ ออสโตรกอธ ลอมบาร์ด แองโกล-แซกซอน เบอร์กันเดียน วิสิกอธ แวนดัล เป็นต้น

 

การสวมมงกุฏให้ดำรงตำแหน่ง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากพระสันตะปาปา

ค.ศ.800 พระเจ้าชาร์เลอมาญ ได้รวบรวมดินแดนในยุโรปเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ และได้รับการอภิเษกจากพระสันตะปาปาซึ่งเป็นผู้นำของศาสนาคริสต์ ภายใต้ชื่อ“จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)” หลังสิ้นสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ ยุโรปถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ต่อมากลายเป็น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี

 

การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล(โรมันตะวันออก) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นการสิ้นสุดของยุคมืดด้วย กล่าวคือ หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม(โรมันตะวันตก) โรมันทางฝั่งตะวันออก(ไบแซนไทน์) ก็ค่อยๆลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั้งเดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน

 

พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น“ไบแซนไทน์”(Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิล เมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืด แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ อิสตันบูล (Istanbul) จนถึงปัจจุบัน

 

ระบบฟิวดัล Feudalism

ยุโรปยุคกลาง เป็นการปกครองในระบบขุนนาง หรือที่เรียกว่า ระบบฟิวดัล หรืออาจเรียกอีกชื่อว่า ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย lord กับ ข้า ในเรื่องเกี่ยวกับ การหาผลประโยชน์ของที่ดิน เริ่มจากกษัตริย์มอบที่ดินให้ขุนนาง เพื่อตอบแทนความดีความชอบ ขุนนางทำหน้าที่ปกครองผู้คนที่อาศัยอยู่ในที่ดิน และมีพันธะต่อกษัตริย์โดยส่งคนไปช่วยรบ