
ยุโรปสมัยกลาง
ยุโรปสมัยกลาง – สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (อังกฤษ: Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages)
ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้
ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ – องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย – โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1095 คือผลิตผลจากความพยายามทางการทหารของเหล่าชาวคริสต์ในยุโรปตะวันตกที่ต้องการจะทวงคืนแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ในตะวันออกกลางคืนจากชาวมุสลิมและมีอำนาจเหนือดินแดนดังกล่าวนานพอที่จะสถาปนารัฐคริสต์ในตะวันออกใกล้ กลุ่มปัญญาชนเกิดขึ้นจากลัทธิอัสสมาจารย์นิยมและการก่อตั้งมหาวิทยาลัยทั่วยุโรป รวมไปถึงการก่อสร้างโบสถ์วิหารแบบกอทิก เป็นหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จทางด้านศิลปะอันยอดเยี่ยมจากยุคกลางตอนกลาง
ยุคกลางตอนปลายต้องเผชิญกับความยุ่งยากและหายนะมากมาย เช่น ความอดอยาก, โรคระบาด และสงคราม ซึ่งทำให้จำนวนประชากรในยุโรปตะวันตกลดลงเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลาสี่ปีตั้งแต่ ค.ศ. 1347 ถึง ค.ศ. 1350 กาฬโรคระบาดในยุโรปคร่าชีวิตชาวยุโรปไปสามในสี่โดยประมาณ ความกังขา, ความนอกรีต และความแตกแยกภายในคริสตจักรดำเนินควบคู่ไปกับสงครามระหว่างรัฐ สงครามกลางเมือง และการลุกฮือของชาวนาภายในอาณาจักรต่าง ๆ พัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมและเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงสังคมของยุโรปอันเป็นจุดจบของยุคกลางและจุดเริ่มต้นของสมัยใหม่ตอนต้น
สมัยกลางหรือยุคมืด
การกระทำทุกอย่างถูกครอบงำโดยศาสนา ห้ามกระทำนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยมีรายละเอียดดังนี้
การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน
โรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตกทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่
ก่อนหน้านี้ โรมในสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน มีอาณาเขตกว้างขวางมาก จนมีการแบ่งการปกครองเป็นสองส่วน คือโรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตก แต่แทนที่จะมีการปกครองที่ดีขึ้น ทั้งสองฝั่งกับทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 บุกเข้าโรม
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นจักรพรรดิทางด้านตะวันออก ที่ทำสงครามชนะ สามารถบุกเข้าโรม รวมอาณาจักรโรมันไว้เป็นหนึ่งเดียว แต่ครั้งนี้เมืองหลวงไม่ได้อยู่ที่โรมเสียแล้ว เนื่องจากว่าคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิด้านตะวันออกก็อยากจะอยู่ที่ด้านตะวันออก คือกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งตั้งตามชื่อของเขาเอง หรืออาจเรียกว่า ไบแซนทิอุม หรือ ไบแซนไทน์ (Byzantium)ปัจจุบันคือ เมืองอิสตันบุล ในประเทศตุรกี
นั่นหมายความว่าจักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ
- โรมันตะวันตก มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงโรม-ประเทศอิตาลี
- โรมันตะวันออก หรือถูกเรียกอีกชื่อว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์ มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงคอนสแตนติโนเปิล
พระเจ้าคอนสแตนตินได้เห็นนิมิตจากสวรรค์
ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต พระเจ้าคอนสแตนตินก็หันไปพึ่งศาสนาในขณะที่นอนป่วยอยู่บนเตียง มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระเจ้าคอนแสตนตินจะข้ามแม่น้ำไปยังกรุงโรมในสมัยสงครามกลางเมือง เขาได้เห็นนิมิตจากสวรรค์(ซึ่งก็พึ่งจะแปลความหมายออกตอนนอนป่วย) ทำให้พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ส่งผลให้ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาของจักรวรรดิ ซึ่งกฎหมายของพวกโรมันบังคับให้ประชาชนต้องหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกระทั่งแพร่หลายในยุโรปในที่สุด
หลังจากนั้นมาโรมันตะวันตกเริ่มอ่อนแอมากข้นเรื่อยๆ เนื่องจากถูกคุกคามจากชนเผผ่าต่างๆ และในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกวิสิกอธ หรือชนเผ่าเยอรันค.ศ.476 เผ่าเยอรมันได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของโรมันตะวันตก(โรม) ถือเป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิโรมัน ดินแดนยุโรปจึงแยกแยกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ชนเผ่าที่สำคัญในยุคนั้นได้แก่ แฟรงค์ ออสโตรกอธ ลอมบาร์ด แองโกล-แซกซอน เบอร์กันเดียน วิสิกอธ แวนดัล เป็นต้น
การสวมมงกุฏให้ดำรงตำแหน่ง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากพระสันตะปาปา
ค.ศ.800 พระเจ้าชาร์เลอมาญ ได้รวบรวมดินแดนในยุโรปเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ และได้รับการอภิเษกจากพระสันตะปาปาซึ่งเป็นผู้นำของศาสนาคริสต์ ภายใต้ชื่อ“จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)” หลังสิ้นสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ ยุโรปถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ต่อมากลายเป็น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี
การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล(โรมันตะวันออก) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นการสิ้นสุดของยุคมืดด้วย กล่าวคือ หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม(โรมันตะวันตก) โรมันทางฝั่งตะวันออก(ไบแซนไทน์) ก็ค่อยๆลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั้งเดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน
พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น“ไบแซนไทน์”(Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิล เมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืด แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ อิสตันบูล (Istanbul) จนถึงปัจจุบัน
ระบบฟิวดัล Feudalism
ยุโรปยุคกลาง เป็นการปกครองในระบบขุนนาง หรือที่เรียกว่า ระบบฟิวดัล หรืออาจเรียกอีกชื่อว่า ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย lord กับ ข้า ในเรื่องเกี่ยวกับ การหาผลประโยชน์ของที่ดิน เริ่มจากกษัตริย์มอบที่ดินให้ขุนนาง เพื่อตอบแทนความดีความชอบ ขุนนางทำหน้าที่ปกครองผู้คนที่อาศัยอยู่ในที่ดิน และมีพันธะต่อกษัตริย์โดยส่งคนไปช่วยรบ
whey protein ยี่ห้อไหนดี ผู้หญิง
April 6, 2021เว็บรับประมูลของญี่ปุ่นโดยตรง ไม่ผ่านคนกลาง
March 28, 2021www.ufabet
March 8, 2021
Leave a reply Cancel reply
-
ผนังกันเสียง – ค่า STC คืออะไร??
March 26, 2020 -
เพราะเหตุใดจึงควรเลือกใช้บริการชิปปิ้งนําเข้าสินค้าจากจีน
April 10, 2021 -
สายคอนโทรล YSLY-JZ
September 10, 2019