ยุโรป สมัยใหม่

พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

ยุโรป สมัยใหม่

 

ยุโรป สมัยใหม่การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ หมายถึงการเกิดใหม่ของการศึกษา  การฟื้นฟูอุดมคติ ศิลปะและวรรณกรรมของกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มต้นของการแสวงหาสิทธิและเสรีภาพและความคิดอันไร้ขอ บเขตของมนุษย์ ที่เคยถูกจำกัดโดยกฎเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์สาสนา  ยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยาการเริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่14 และสิ้นสุดในกึ่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อ ของประวัติสาสตร์สมัยกลางและสมัยใหม่

 

          สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ

เมื่อยุโรปฟื้นตัวจากความซบเซาทางเศรษฐกิจ  ฐานะทางการเงินของชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิตาลี  ก็มั่งคั่งขึ้นเป็นลำดับ จึงหันมาสนับสนุนงานด้านศิลปะและวิทยาการ  เกิดมโนทัศน์ใหม่ที่มุ่งหวังให้บุคคลในอุดมคติ มีความรูความสามารถในทุก ๆ ด้านซึ่งรวมทั้งความรู้ความสามารถทางวิชาการ  การกีฬา และงานทางด้านศิลปะวัฒนธรรมฉะนั้นบรรดาเจ้านครรัฐในอิตาลี เช่น ที่เมืองเฟอเรนซ์ และเมืองมิลาน จึงหันมาสนับสนุนงานทางด้านศิลปวิทยาการเป็นจำนวนมาก  เพื่อให้ราชสำนักของตนมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่นิยมของคนรุ ่นใหม่ สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในอิตาลี เคยเป็นแหล่งความเจริญรุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมันฉะนั้นบรรดานั กปราชญ์และศิลปินต่าง ๆ ในอิตาลีจึงให้ความสนใจเป็นพิเศษในศิลปะและวิทยาการของชาวโรมัน มีการนำข้อเขียนและผลงานตลอดจนรูปแบบของศิลปะโรมันมาศึกษากันอย ่างละเอียด

         

 นอกจากนี้สภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในศตวรรษที่ 13  ทำให้ทัศนคติต่อการครองชีพของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นคนมองโลกในแง่ที่ดีและเริ่มปฏิเสธกฎเกณฑ์อันเข้มงวดของ ฝ่ายศาสนาจักร  ยิ่งไปกว่านั้นการทุจริต ละโมบ และการซื้อขายตำแหน่งสมณะศักดิ์ของพวกพระ ทำให้คนเริ่มเสื่อมศรัทธาในสถาบันคริสต์ศาสนา และหันไปให้ความสนใจผลงานสร้างสรรค์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

 

สงครามครูและการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ใน ค.ศ. 1453  ทำให้วิทยาการแขนงต่าง ๆ ของชาวโรมันและกรีกที่จักรวรรดิไบแซนไทน์สืบทอดเอาไว้ หลั่งไหลกลับคืนไปทางตะวันตกอีกครั้ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ประชาชนและนักปราชญ์ทางตะวันออกได้อพยพเข้าสู่แหลมอิตาลี พร้อมกับนำหนังสือวิทยาการของกรีก –โรมันเข้ามาด้วย  ทำให้มีต้นฉบับเดิมของศาสตร์ต่าง ๆ ไว้ศึกษากันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

 

          แนวคิดใหม่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ในสมัยกลางชาวตะวันตกซึ่งส่วนใหญ่เป็นคริสต์ศาสนิกชนต่างมีความ เชื่อว่า  ทุกคนมีบาปติดตัวมาแต่กำเนิด การมีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันถือเป็นการไถ่บาป  เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปสู่สรวงสวรรค์ทั้งในด้านของการดำเนินชี วิต การศึกษา  ตลอดจนงานด้านศิลปะวิทยาการต่าง ๆ เมื่อเกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาการขึ้นแนวคิดทางโลกของชาวตะวันตกก ็เปลี่ยนแปลงไปด้วย  และเริ่มเห็นว่าแท้จริงมนุษย์นั้นสามารถพัฒนาชีวิตของตนเองให้ด ีและมีคุณค่าได้ โดยการศึกษาจากการเรียนรู้และการเขียนและวรรณกรรมของกรีกและโรม ันโบราณ ที่สอดแทรกปรัชญาและแนวทางในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขในโลกปั จจุบันนี้ได้  แนวคิดดังกล่าวเป็นที่มาของลัทธิมนุษยนิยม ที่ให้ความสนใจของโดลกปัจจุบันแทนการมุ่งหน้าไปสู่สวรรค์ ซึ่งเคยเป็นปรัชญาในการครองชีวิตในสมัยกลาง

 

นักปราชญ์คนแรกที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษากาวรรณคดีประเภทคลาสส ิกในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและได้รับยกย่องว่าเป็น   บิดาแห่งมนุษยนิยม ได้แก่ ฟรานเซสโก เปตราร์ก ชาวอิตาลี เขาพยายามศึกษาการใช้ภาละตินให้ถูกต้องตามแบบแผนดั้งเดิม  และชี้ให้เห็นถึงความงามของภาละตินที่ถูกต้องนั้นควรเป็นเช่นไร

 

ความสนใจในวรรณคดีคลาสสิกของเปตราร์กมีผลให้ลูกศิษย์และผู้นิยม งานเขียนในสมัยคลาสสิกเสาะแสวงหางานเขียนของนักปราชญ์ในสมัยโรม ันตามห้องสมุดของพระอารามและโบสถ์วิหารในดินแดนต่าง ๆ ในยุโรป  ทำให้งานเขียนเก่า ๆ ได้รับการศึกษาค้นคว้า และคัดลอกกันอย่างกว้างขวางผู้สนใจในงานคลาสสิกของสมัยโบราณหรื อเรียกว่า พวกมนุษยนิยม เหล่านี้ต่างได้รับยกย่องในความรู้และความสามารถในการใช้ภาละติ นอย่างถูกต้อง  ได้รับเชิญให้เป็นราชเลขาธิการและอาจารย์ประจำราชสำนักของเจ้าน ครรัฐในอิตาลี ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่สารบรรณในสำนักงานของพระสันตะปา ปา

 

ยิ่งไปกว่านั้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14  พวกนักปราชญ์ชาวกรีกกรุงคอนสแตนติโนเปิบก็เริ่มอพยพหนีภัยจากกา รรุกรานของพวกมุสลิมมายังแหลมอิตาลี   และสมัครเป็นอาจารย์สอนภาษากรีกในราชสำนักของเจ้านครและโรงเรีย นต่าง ๆ จนทำให้พวกมนุษยนิยมชาวอิตาลีมีความรู้ในภาและวัฒนธรรมของกรีกเ ป็นอย่างดี  สามารถนำเอาวรรณคดีและปรัชญาของกรีกมาแปลเป็นภาษาละตินเผยแพร่ใ ห้เป็นที่รู้จักกันในยุโรปตะวันตกมากขึ้น

 

ใน ค.ศ. 1454  โยฮันน์ หรือ โยฮันเนส  กูเตนเบิร์ก แห่งเมืองไมนซ์ ประเทศเยอรมนี สามารถผลิตเครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการเรียงตัวอักษรได้สำเร็จ  ซึ่งทำให้ราคาหนังสือถูกลงเป็นอันมาก อีกทั้งเผยแพร่ไปในดินแคนต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง จนทำให้ความนึกคิด  และความสนใจของประชากรในดินแดนต่าง ๆ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากยิ่งขึ้น

 

โดยทั่วไปพวกมนุษยนิยมเป็นพวกที่ศรัทธาในคริสต์ศาสนา  แต่ความมี ศรัทธา ของเขามิได้ปิดก้นความมีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของปัญเ จกบุคลนักมนุษยนิยมมีความคิดว่าคริสต์ศาสนิกชนควรแยกตัวออกจากก ารครองงำทางความคิดของสาสนจักรเพื่อแสวงหาสิทธิและเสรีภาพในการ ใช้ชีวิตอย่างเป็นประโยชน์  ซึ่งความคิดนี้เป็นรากฐาน การกบฏ ของคริสต์สาสนิกชนต่อสถาบันพระสันตะปาปาที่กำลังเสื่อมทราม อันนำไปสู่การต้านวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ของศาสนจักรที่ขัดต่อข้อกำหนดในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งในที่สุดก็ทำใ ห้เกิดการปฏิรูปทางศาสนาใน ค.ศ. 1517

 

ในช่วงสมัยกลาง งานสร้างสรรค์ศิลปะแขนงต่าง ๆ   เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับคริสต์ศาสนาโดยเฉาพะ ศิลปินไม่สามารถที่จะถ่ายทอดจินตนาการและความคิดอันเสรีในการสร ้างงานศิลปะของตัวเองได้  ดังนั้นงานศิลปะส่วนใหญ่มักมีลักษณะแข็งกระด้างและขาดชีวิตชีวา เช่น รูปภาพและรูปปั้นของนักบุญมีคอระหงและยาวจนเกินความจำเป็น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า นักบุญเหล่านี้กำลังมุ่งหน้าไปสู่สรวงสวรรค์ เป็นต้น

 

ศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้นนับเป็นการปฏิวัติอีกแขนงหนึ ่ง เพื่อให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของคริสต์ศาสนาในสมัยกลาง  ประติมากรในสมัยนี้จึงหวนกลับไปใช้วิธีการของกรีก – โรมันที่สร้างงานศิลปะที่เป็นธรรมชาติ โดยหันมาให้ความสนใจต่อความสวยงามของสรีระร่างกายมนุษย์  ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาค้นคว้าเทคนิคใหม่ ๆ ในการผสมสี 

 

เทคนิคการวาดภาพปูนเปียกให้ความสำคัญของแสงและเงา  รวมทั้งมิติและการจัดองค์ประกอบของภาพ ศิลปินที่สำคัญสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการมีหลายคนแต่ที่สำคัญและมี ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ไมเคิลแอนเจโล  บูโอนารอตติ เลโอนาร์โด ดา วินซี และราฟาเอลศิลปินทั้งสามคนนี้ต่างมีชีวิตอยู่ในสมัยคริสต์ศตวรร ษที่ 16 ซึ่งถือเป็นยุคทองของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

 

ไมเคิลแอนเจโล เป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งทางด้านจิตรกรรม  ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ซึ่งเขามีความสนใจในงานด้านประติมากรรมมากที่สุด  โดยเฉาพะรูปสลักผู้ชายเปลือยแสดงสัดส่วนและกล้ามเนื้อที่สมส่วน ของร่างกาย เพราะเขามีความคิดว่ามนุษย์เกิดจากฝีพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้า  จึงนับว่าเป็นรูปลักษณ์ที่มีความงดงามที่สุด งานประติมากรรมที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเขาได้แก่ รูปสลักเดวิด เป็นชายหนุ่มเปลือยกายที่อยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้กับศั ตรู  และปิเอตา เป็นรูปสลักพระมารดากำลังประคองพระเยซูในอ้อมพระกร หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้ว ส่วนงานภาพจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ งานเขียนภาพเพดานและฝาผนังในโบสถ์ซีสติน  ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งเป็นภาพที่งดงามและมีสีสันสวยสดภาพส่วนใหญ่แสดงส่วนสัดต่าง ๆ ของร่างกายชายและหญิง ซึ่งเป็นแนวเขียนใหม่ที่ผิดแบบประเพณีการวาดรูปในโบสถ์วิหารอื่นๆ

 

เลโอนาร์โด  ดา วินซี เป็นศิลปินและนักปราชญ์ที่มีความรู้และความสามารถเป็นเลิศในสาข าวิชาจิตรกรรม  ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ชีววิทยา กายวิภาคสาสตร์และคณิตสาสตร์ และสามารถนำความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ มาถ่ายทอดในรูปแบบของงานจิตรกรรมได้เป็นอย่างดี  งานของเลโอนาร์โดเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เป็นจริงการใช้โทนสีที่น ุ่มนวลทำให้ลักษณะของภาพมีความละเอียดละไม และแฝงไว้ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ของความรักความเมตตา  อันเป็นลักษณะทั่วไปของนักมนุษยนิยม ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้าย อาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซูก่อนถูกนำไปตรึงไม้กางเขน เป็นภาพที่แสดงถึงความตระหนกตกใจของสาวกพระเยซู

 

ในเหตุการณ์  ตอนพระองค์ประกาศในบรรดาสาวก 12 รูป ของพระองค์นั้น โดยมีบรรยากาศของธรรมชาติที่ปกคลุมด้วยม่านหมอกเป็นพื้นของรูปราฟาเอล  เป็นจิตรกรเอกอีกผู้หนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่ผลงานสะท ้อนออกมาให้เห็นถึงความประณีตนิ่มนวลในรายละเอียดของภาพเขียน   ภาพที่มีชื่อเสียงของราฟาเอลได้แก่ ภาพพระแม่ พระบุตร และจอห์น แบบสิสต์ แสดงความรักของแม่ที่มีต่อบุตร เป็นภาพเหมือนจริงที่มีชีวิตจิตใจ  แลดูเป็นปถุชนธรรมดา ภาพเขียนของราฟาเอล ดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างที่ดีของศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ที่เน้นให้เห็นบทบาทและความสำคัญของปัญเจกบุคคล   พระกุมารในภาพของราฟาเอลจึงแลดูเป็นทารกที่มิได้แอบแฝงบุคลิกขอ งผู้ใหญ่หรือความเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ แต่แสดงถึงความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของเด็กที่ถูกเพิกเฉยในสมัยก ลาง  และนับเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้ใหญ่หันมาให้ความรักและความสนใจแก่ เด็ก ๆ มากขึ้น

 

งานประพันธ์ร้อยแก้วและร้อยกรองที่สำคัญของยุคนี้ที่แสดงให้เห็ นถึงความขัดแย้งของความคิดในกรอบและกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดของคริส ต์ศาสนา  ได้แก่ บทเพลงรักหรือซอนนิตของเปตราร์ก ดิแคเมอรอน ของบอนคาซิโอ วิ่งเป็นนวนิยายชวนหัวที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะของเจ้านครจากการป ระพันธ์ของ  นิโคโล มาเคียเวลลลี และยูโทเปีย ของเซอร์ทอมัส มอร์ ที่กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย เป็นต้น

 

ส่วนงานวรรณกรรมด้านนาฏกรรมหรือบทละครนั้นก็มีการรับอิทธิพลของ บทละครในกรีกโดยการนำมาปรับให้เข้ากับรสนิยมชาวตะวันตกในสมัยนั ้น  นักประพันธ์บทละครคนสำคัญได้แก่ วิลเลียม เชกสเปียร์ บทละครของเขาเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่โรมีโอแอนจู

 

เลียต  เวนิสวานิช  คิงเลียร์ แมคเบทและฝันคืนกลางฤดูร้อน เป็นต้น  ซึ่งบทละครเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัย  และการตัดสินใจของมนุษย์ในภาวะต่าง ๆ กัน กล่าวได้ว่า งานสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมของสังคมตะวันตกทีมีพัฒนาการอย่าง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอันยาวนานได้วางรากฐานความเจริญด้านต่าง ๆ แก่ชาติตะวันตกเป็นอันมากทำให้ชาวยุโรปได้ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยให ม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อย่างมีเหตุผลและโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น  เกิดความกระตือรือร้นที่จะเสาะแสวงหาความรู้วิชาการใหม่ ๆ เพื่อยกระดับชีวิต วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในการเดินเรือสำรวจดินแดนโพ้นทะเลนอกทวีปยุโรป นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้จนเกิดการปฏิวัติทางวิทยา ศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติความคิดในยุคภูมิธรรม  ทำให้สังคมตะวันตกเกิดการเปลี่ยนแปลงนานัปการทั้งทางด้านเศรษฐก ิจ สังคมและการปกครองจนยุโรปก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจ และมีส่วนช่วยให้โลกตะวันตกสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมที่สะสมกันมาเ ป็นระยะนับพัน ๆ ปี ไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก